คำศัพท์และตัวย่อเกี่ยวกับโควิด

คำศัพท์ที่ใช้กันบ่อยๆในช่วงการระบาดไวรัสโควิด

เลือกคำที่ใช่และเหมาะสมเวลาที่คุยเรื่องโควิด

ทุกคนได้เรียนรู้และทำสิ่งใหม่ๆมากมายตั้งแต่มีการระบาดของไวรัสโควิดในปี 2020 ไม่ว่าจะเป็นการทำงานจากที่บ้าน การดูแลป้องกันตัวเองจากโรคติดต่อในที่สาธารณะ และที่สำคัญที่สุดคือ การเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น และก็ยังทำให้ทุกคนได้เรียนรู้กับคำศัพท์ใหม่ๆที่เราอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน

นับตั้งแต่ทุกคนทั่วโลกมีความหวาดหวั่นกับโรคระบาด มีการล้อคดาวน์ปิดเมือง ปิดประเทศเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง ซ้ำแล้วซ้ำอีก ทุก ๆเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการระบาดระดับโลกนี้ ทำให้เราได้รู้จักคำศัพท์ใหม่ๆ กับเรื่องใหม่ๆที่เกิดขึ้น ซึ่งในระหว่างนั้น แม้แต่เจ้าของภาษาเองก็อาจจะไม่คุ้นเคยกับศัพท์เทคนิคต่างๆที่นำมาใช้กัน แต่แล้ว ภายในไม่ถึงสองปี คำศัพท์ที่เคยใช้แต่ในวงการวิจัย วงการนักวิทยาศาสตร์ หรือแม้แต่วงการแพทย์ ก็ได้ถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันเหมือนเป็นคำทั่วๆไป นั่นก็เป็นผลส่วนหนึ่งจากโรคระบาดระดับโลกนี้ที่ทำให้ทุกคนได้เรียนรู้คำศัพท์กันเพิ่มมากขึ้นมาอีกหน่อย

Modulo business student doing a presentation
เราเริ่มชินกับการใส่หน้ากากอนามัยในชีวิตประจำวันไปแล้ว

6 ลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด

เรามาเรียบเรียงลำดับเหตุการณ์ของสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2020จนถึงเดือนธันวาคม2022ั กันดูดีกว่า แต่ละช่วงเวลาที่เราอยู่ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิดนี้ เราจะคุ้นเคยกับคำศัพท์ที่ใช้กันบ่อยๆอยู่ 5 คำ รวมถึงตัวย่อที่เจอบ่อยมากอยู่ 2 ตัวย่อ แต่ละคำก็ล้วนแต่สื่อความหมายของสถานการณ์โควิดที่พวกเราได้เผชิญกัน แต่คำต่างๆเหล่านี้ก็อาจจะหมายถึงเรื่องอื่นได้เช่นกัน

เดือนกุมภาพันธ์ 2020

มีการประกาศอย่างเป็นทางการในเช้าวันหนึ่งว่า มีการเกิดโรคระบาดใหม่ (epidemic) ขึ้นที่เมืองหวู่ฮั่น ประเทศจีน ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่าที่เพิ่งค้นพบใหม่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ชื่อว่า ไวรัสโควิด 19 (COVID-19) องค์กรต่างๆได้ให้คำยืนยันว่า ไวรัสชนิดนี้เป็นไวรัสที่ติดต่อจากคนสู่คนได้ง่ายมาก (highly contagious) โดยติดต่อผ่านทางละอองอากาศ (transmitted by air droplets) และถึงแม้ว่าจะเป็นโรคที่ติดต่อได้โดยง่าย แต่ก็พบว่า 40% ของคนที่ติดเชื้อไวรัสนี้จะไม่แสดงอาการ (asymptomatic) จึงทำให้หลายคนไม่รู้ว่าตัวเองกำลังมีเชื้อไวรัสนี้อยู่

  • asymptomatic (adj.) — ไม่มีอาการแสดงของโรค
  • contagious (adj.) — สามารถติดต่อไปยังผู้อื่นได้
  • COVID-19 (n.)COrona-VIrus Disease of 2019 ไวรัสโควิด 19
  • droplet (n.) — ละอองที่อากาศนำพาไปได้
  • epidemic (n.) — การระบาดเฉพาะพื้นที่หรือกลุ่มประชากรบางกลุ่ม
  • transmit (v.) — เมื่อไวรัสแพร่กระจายไปยังผู้อื่น
  • WHO (n.) - the World Health Organization องค์การอนามัยโลก

เดือนมีนาคม 2020

หลังจากที่มีการระบาดของไวรัสโควิด19ถึง100,000 ราย ในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก องค์การอนามัยโลกจึงประกาศยกระดับของโรคระบาดนี้จาก โรคระบาด (endemic) เป็นโรคระบาดใหญ่ที่ลุกลามไปทั่วโลก ที่เราเรียกกันว่า a global pandemic นั่นเอง ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคที่เราเรียกง่ายๆว่า CDC ซึ่งจะเป็นศูนย์ที่ปฎิบัติตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก โดยจะคอยประกาศให้ทุกคนได้รับทราบถึง มาตรการใหม่ๆ (new measures)ในการป้องกันการระบาดของไวรัสชนิดนี้ มีการแนะนำให้ทุกคนอยู่ในบ้าน ถ้ามีใครที่เริ่มมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัด (flu-like symptoms) เช่น ไอ หรือมีไข้ ก็ให้ไปตรวจยังสถานที่ที่ใกล้ๆบ้าน ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่สวมใส่ชุดป้องกัน(PPE) เป็นผู้ตรวจและยืนยันคำวินิจฉัยโรคให้

  • case (n.) — คนไข้ที่มีเชื้อไวรัส
  • CDC (n.) — the Center for Disease Control (the United States government) ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค โดยรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกา
  • diagnose (v.) — วินิจฉัยสาเหตุของโรค
  • measure (n.) — การวัดผล หรือการปฏิบัติการเพื่อให้ได้ผล
  • pandemic (n.) — การระบาดของไวรัสที่กระจายเป็นวงกว้าง
  • PPE (n.)personal protective equipment, such as masks and gloves อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เช่น หน้ากาก ถุงมือ
  • symptom (n.) — อาการเจ็บป่วย

เดือนพฤษภาคม 2021

เนื่องจากมีคนเดินทางในช่วงสงกรานต์ จึงได้มีเหตุการณ์ของคนติดเชื้อไวรัสที่ได้แพร่กระจายเชื้อไวรัสไปยังกลุ่มคนจำนวนมาก (super-spreader) ที่เอกมัยในช่วงต้นเดือนเมษายน ทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (outbreaks) ในจังหวัดอื่นๆด้วย ได้แก่ ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี ซึ่งทำให้หน่วยงานทางการแพทย์เร่งรัดให้รัฐบาลรีบเข้ามาเตรียมตัวแก้ไขปัญหาก่อนที่จะลุกลามมากไปกว่านี้ (proactively) โดยการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้ทุกคนห้ามออกนอกบ้านในช่วงเวลากลางคืน (curfew) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ก็เห็นด้วยว่าดีกว่าการล้อคดาวน์ (lockdown) คือปิดประเทศ ไม่ให้เดินทางออกจากบ้านเลยแบบในประเทศจีน และทุกคนต้องใส่หน้ากากอนามัย (N95 masks) รวมถึงแนะนำให้ทำงานจากที่บ้าน

  • curfew (n.) — สถานการณ์ฉุกเฉินที่ไม่อนุญาตให้ทุกคนออกมานอกบ้าน
  • lockdown (n.) — สถานการณ์ฉุกเฉินที่สั่งให้ทุกคนต้องอยู่แต่ในบ้าน
  • N95 (adj.) — หน้ากากที่สามารถกรองละอองในอากาศได้ถึง 95%
  • outbreak (n.) — การที่มีจำนวนคนที่ติดเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • proactive (adj.) — การปฏิบัติการแก้ไขก่อนที่จะมีปัญหาเกิดขึ้น
  • super-spreader (n.) — บุคคลคนเดียวที่แพร่กระจายเชื้อไวรัสไปให้คนอื่นๆได้เป็นจำนวนมาก
  • WFH (n.)work from home ทำงานจากที่บ้าน

Brain food
การทำงานที่บ้านกลายเป็นเรื่องปกติของคนเราไปแล้ว บางคนชอบ แต่บางคนอาจจะไม่

เดือนสิงหาคม 2021

รัฐบาลได้กระตุ้นให้ทุกคนรวมถึงชาวต่างชาติที่อยู่ในไทย ให้เข้ามารับวัคซีน AstraZeneca vaccine อย่างน้อยสองโดส (at least two doses) ในขณะนั้น วัคซีนmRNA (Moderna และ Pfizer) ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน และยังไม่มาถึงประเทศไทย คนที่ได้รับวัคซีนอาจจะมีผลข้างเคียง (side effects) ที่คล้ายกับเป็นหวัดได้ ดังนั้นจึงไม่จำเป้นต้องตรวจ PCR test ส่วนคนที่ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 และตรวจยื่นยันแล้วว่าได้ผลบวก ก็ต้องกักตัวเอง (self-isolate)หรือเข้ามานอนในโรงแรมที่จัดการให้เหมือนโรงพยาบาล (hospitel)

  • dose (n.) — ปริมาณวัคซีน
  • hospitel (n.) — เป็นคำที่เกิดจาก hospital + hotel คือปรับโรงแรมให้คล้ายกับโรงพยาบาล
  • mRNA (n.)RNA เป็นตัวสื่อสารกับ DNA ซึ่งจะทำให้มีการสร้างโปรตีนเฉพาะ
  • PCR (n.)polymerase chain reaction เป็นวิธีการตรวจหาเชื้อไวรัสวิธีหนึ่ง
  • self-isolate (v.) — ให้แยกตัวเองจากผู้อื่นในกรณีที่ติดเชื้อไวรัส
  • side effect (n.) — ผลข้างเคียงจากยาหรือวัคซีน
  • vaccine (n.) — วัคซีนคือส่วนประกอบของเชื้อโรคที่ฉีดเข้าไปในร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคนั้นๆ

เดือนธันวาคม 2021

ในช่วงเวลานี้ ไวรัสได้เกิดเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ variant เป็นสายพันธุ์โอไมครอน Omicron และได้เข้ามาในประเทศไทยด้วย รัฐบาลอนุญาตให้เอกชนสามารถ ATK tests ให้คนทั่วไปได้ และยังมีการประกาศเหมือนเดิมว่า คนที่สัมผัส(exposed)กับคนที่ติดเชื้อโควิด 19 ต้องกักตนเอง (quarantine)ให้แน่ใจก่อนว่าจะไม่ติดเชื้อ นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่า รัฐบาลไทยจะสามารถประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 เป็นโรคประจำถิ่น(endemic )ได้ในกลางปีหน้า ซึ่งจะทำให้ทุกคนได้กลับมาใช้ชีวิตเหมือนปกติได้อีกครั้ง

  • ATK (n.) — antigen test kit, เป้นหนึ่งในวิธีการที่ใช้ตรวจหาเชื้อไวรัส
  • endemic (adj.) — พบบ่อยในท้องถิ่น หรือบางพื้นที่
  • expose (v.) — สัมผัสกับผู้ติดเชื้อไวรัส
  • FDA (n.) — the Food and Drug Administration (the Thai government) องค์การอาหารและยา (รัฐบาลไทย)
  • infect (v.) — แพร่เชื้อไวรัสไปให้ผู้อื่น
  • quarantine (n.) — กักตัว ในกรณีที่สงสัยว่าจะติดเชื้อไวรัส
  • variant (n.) — รูปแบบของไวรัสที่เปลี่ยนไป (เดลต้าdelta หรือ โอไมครอนomicron) จากไวรัสต้นแบบ (อัลฟ่า alpha)

เดือนธันวาคม 2022

ในประเทศจีน มีผู้คนติดเชื้อไวรัสโควิด 19 เป็นจำนวนมาก ทำให้ทั้งห้องฉุกเฉิน ER และแผนกผู้ป่วยหนัก ICU ของโรงพยาบาลเต็มไปด้วยคนไข้กลุ่มนี้ ทำให้รัฐบาลจีนต้องประกาศยกระดับกฎเกณฑ์ต่างๆ (restrictions) สำหรับคนในประเทศรวมถึงผู้ที่จะเดินทางมายังประเทศจีน หนึ่งในข้อปฏิบัติ (requirement) นั้นก็คือ ผู้ที่จะเดินทางเข้าประเทศจีนต้องแสดงหลักฐานของการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันคนกลุ่มที่ไม่ยอมฉีดวัคซีนเข้าประเทศนั่นเอง นอกจากนี้ ทุกคนจะต้องติดตั้งโปรแกรม location-tracking app เพื่อติดตามตัวได้ทั่วประเทศ คนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎ (Non-compliance) ก็จะถูกลงโทษ

  • ER (n.)emergency room ห้องฉุกเฉิน
  • exemption (n.) — ข้อยกเว้น
  • ICU (n.)intensive care unit, ห้องดูแลผู้ป่วยหนัก
  • location-tracking (n.) — วิธีที่ใช้ตามคนไข้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิดว่าไปอยู่ที่ใดบ้าง
  • non-compliance (n.) — การไม่ปฏิบัติตามกฎหรือคำแนะนำ
  • requirement (n.) — ความต้องการให้ปฏิบัติตามกฎหรือคำแนะนำ
  • restriction (n.) — ข้อจำกัดหรือกฎข้อบังคับเพื่อควบคุมเรื่องบางอย่าง

Brain food
สิ่งต่างๆอาจแย่ไปกว่านี้หากเราขาดบุคลากรทางการแพทย์เหล่านี้

Mike D

May 2023